ยินดีต้อนรับสู่บล็อก

วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การบ้าน

assignment  3
ให้นักศึกษาเขียนระบบการสอนวิชาใดก็ได้มา  1  วิชาในสาขาสังคมศึกษา   1    ระบบ   ตามหลัก   I    P   O   มาโดยละเอียด

สอนวิชาภูมิศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
Input
1.เตรียมการสอนค้นคว้าข้อมูล
2.หาเนื้อหาที่จะสอน
3.อุปกรณ์การเรียน   เช่น   PowerPoint   สื่อ
4.เอกสารประกอบการเรียน
5.กิจกรรมในชั้นเรียน

 Process
1.แจกโครงการสอนให้นักศึกษา
2.อธิบายโครงการสอนในแต่ละสัปดาห์
3.บอกวัตถุประสงค์ว่าเรียนวิชานี้เพื่ออะไร
4.รายละเอียดการสอนในแต่ละสัปดาห์
5.กิจกรรมในชั้นเรียนแต่ละครั้ง
6.สอบกลางภาค
7.มอบหมายงานเดี่ยว
8.สอนรายละเอียดเนื้อหาต่อ
9.มอบหมายงานกลุ่ม
10.สอบปลายภาค
11.การวัดและการประเมินผล
12.การตัดสินผลการเรียนของเด็ก

 Output
1.นักเรียนได้ความรู้ในวิชาที่เรียน
2.ได้เกรดตามศักยภาพของเด็ก
3.นำความรู้ที่ได้เรียนมาไปใช้ได้

วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556


การผลิตน้ำตาลทราย   จัดว่าเป็น  System   หรือไม่   ถ้าเป็น   จงบอกองค์ประกอบระบบการผลิตน้ำตาลทราย   ตามระบบ  I    P   O   มาโดยละเอียด
           เป็นระบบ System  
Input
1.การปลูกอ้อย
2.การดูแลจนต้นอ้อยโตเต็มที่
3.การใส่ปุ๋ยบำรุงต้นอ้อย
4.การตัดอ้อย
5.นำอ้อยเข้าโรงงานทำน้ำตาล
Processing
1.กระบวนการสกัดน้ำอ้อย
2.การทำความสะอาด หรือทำใสน้ำอ้อย
3.การต้มน้ำอ้อย                
4.การเคี่ยวน้ำอ้อย    
5.การปั่นแยกผลึกน้ำตาล   
Output
1.ได้น้ำตาลทรายที่ต้องการ
2.การบรรจุใส่ผลิตภัณฑ์
3.การจำหน่ายน้ำตาล


เฉลยการบ้านครั้งที่  2

Input                                  Process                                  Output
- โรงงานน้ำตาล                  - การสกัดน้ำอ้อย                                  - น้ำตาลทราย
- เครื่องจักร                          - การทำความสะอาดน้ำอ้อย                - กากน้ำตาล
- วัตถุดิบ                                - การต้มให้ได้น้ำเชื่อม
- แรงงาน                              - การเคี่ยวให้เป็นผลึกและกาก
- เงินทุน                                - การปั่นแยกผลึกน้ำตาล
- การอบ
- การบรรจุถุง



วันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2556

1. smartphone คืออะไร  มีประโยชน์อะไร


        smartphone คือ โทรศัพท์ที่รองรับระบบปฏิบัติการ ต่างๆได้  เสมือนยกเอาคุณสมบัติที่ PDA และคอมพิวเตอร์มาไว้ในโทรศัพท์ เช่น iOS (ที่ลงในมือถือรุ่น Iphone) ,BlackBerry OS, Android OSWindows phone 7 และ Symbian Os  (Nokia) เป็นต้น ซึ่งทำให้ สมาร์ทโฟน สามารถลงโปแกรมเพิ่มเติม (Application) ได้
มีประโยชน์คือ
1. การเชื่อมต่ออุปกรณ์ไร้สาย นี่เป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งที่จะทำให้ smart-Phone เช่น นั่นคือการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ PDA โทรศัพท์เครื่องอื่น พริ้นเตอร์ หรือกล้องดิจิตอล ผ่านทาง อินฟราเรด บลูทูธ หรือ Wi-Fi
2. สามารถรองรับไฟล์ Multimedia ได้หลากหลายรูปแบบ เช่นไฟล์ ภาพ,ภาพเคลื่อนไหว เช่นภาพเคลื่อนไหวสกุล .gif เสียง ซึ่งก็จะมีหลายรูปแบบ เช่น ไฟล์ Wave, MP3, Midi ต่อไปเป็นไฟล์วิดีโอ ซึ่งจะสามารถรองรับภาพเคลื่อนไหว หรือภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียง เช่นสกุล .3gp .mp4 
3. หาข้อมูล / เช็คข่าวสาร / อ่าน webboard / ตรวจสอบสภาพอากาศ / เช็ครอบภาพยนตร์
4. แผนที่ / การนำทาง / สภาพการจราจร (อันนี้เป็นเหตุผลหนึ่งที่ตัดสินใจใช้ smartphone)
5. ใช้เป็น remote สำหรับโปรแกรมเล่นเพลงบน Notebook


2. Android   คืออะไร   จะพบได้ที่ไหน

            เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับอุปกรณ์พกพา เช่น โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ เน็ตบุ๊ก ทำงานบนลินุกซ์ เคอร์เนล เริ่มพัฒนาโดยบริษัทแอนดรอยด์ (อังกฤษ: Android Inc.) จากนั้นบริษัทแอนดรอยด์ถูกซื้อโดยกูเกิล และนำแอนดรอยด์ไปพัฒนาต่อ ภายหลังถูกพัฒนาในนามของ Open Handset Alliance ทางกูเกิลได้เปิดให้นักพัฒนาสามารถแก้ไขโค้ดต่างๆ ด้วยภาษาจาวา และควบคุมอุปกรณ์ผ่านทางชุด Java libraries ที่กูเกิ้ลพัฒนาขึ้น
              จะพบได้ที่    มือถือระบบ   Android   ,  Aapple ,  Samesung  , smartphon
  


3. Cyberbullying คืออะไร?


         การกลั่นแกล้งในโลกไซเบอร์คือการประทุษร้ายหรือทำให้ผู้อื่นอับอายผ่าน ทางการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น อีเมล์การส่งข้อความบล็อกเว็บไซต์ชุมชนออนไลน์เมสเสจและโทรศัพท์ สิ่งที่นักเลงไซเบอร์ตั้งใจคือการแสดงความเป็นศัตรูหรือแสดงออกในแง่ลบต่อ อีกฝ่ายนั่นเอง
 การกลั่นแกล้งในโลกไซเบอร์อาจรวมถึงสิ่งพิมพ์หรือการส่งผ่านข้อมูลที่ เป็นเรื่องส่วนตัวของคนหนึ่งไปยังสถานที่สาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้า ของ เช่น การเซฟภาพเจ้านายใส่ชุดบิกินี่ในวันพักผ่อนจากเฟซบุ้คของเจ้านายไปเผยแพร่ ต่อทางฟอร์เวิร์ดเมล์ หรือการนำภาพแอบถ่ายในห้องน้ำของใครสักคนที่ได้รับมาไปโพสหน้าเว็บไซต์ให้คน อื่นดูด้วยกัน เป็นต้น  
นอกจากนั้นนักเลงไซเบอร์อาจจะส่งข้อความให้ร้ายไปยังผู้อื่น หรือเขียนคอมเมนต์ในเว็บไซต์หรือบล็อกที่เป็นการต่อว่า การประทุษร้ายซ้ำๆ หลายครั้งแม้จะดูเป็นบาดแผลที่ห่างไกลหัวใจจนไม่น่าใส่ใจสำหรับผู้ใหญ่ แต่สำหรับเด็กหรือวัยรุ่นถือเป็นการทำร้ายที่รุนแรงมาก ส่งผลให้รู้สึกซึมเศร้าหงุดหงิดอาละวาดและทำร้ายตัวเองจากอารมณ์หุนหันพลันแล่นได้
ทำไมนักเลงไซเบอร์ถึงมีมากขึ้น
           มีหลายทฤษฎีอธิบายว่าการเพิ่มขึ้นของการประทุษร้ายออนไลน์ส่วนหนึ่งเกิด จากเด็กที่มีลักษณะชอบแกล้งผู้อื่นอยู่แล้ว เปลี่ยนวิธีการมาใช้อินเตอร์เน็ตแทนการแกล้งโดยตรงที่โรงเรียนเนื่องจาก ปลอดภัยจากสายตาของผู้ใหญ่มากกว่าแม้เว็บไซต์หลายแห่งมีผู้ดูแลเป็นผู้ใหญ่และสามารถควบคุมให้ผู้ใช้บริการ รักษากติกาและใช้ภาษาที่เหมาะสมได้ แต่นักเลงไซเบอร์ก็อาจป้วนเปี้ยนแถวๆ นั้นและหาโอกาสจ้องทำร้ายด้วยการเอาคำพูดของผู้ดูแลไปปรับเปลี่ยนให้ดูแย่ลง หรือปล่อยข่าวลือด้านลบต่อเว็บไซต์แห่งนั้นได้เช่นกันปัจจุบันนี้หลายประเทศได้ประกาศใช้พรบ.ป้องกันการกระทำผิดทางอินเตอร์ เน็ตแล้ว และยอมรับว่าผู้ที่ทำตัวเป็นนักเลงไซเบอร์เป็น “อาชญากร” ด้วย แม้แต่การเขียนคอมเมนต์ที่เป็นการสบประมาทในเรื่องเชื้อชาติศาสนาเผ่าพันธุ์หรือเพศก็จัดเป็นการกระทำผิดด้วยเช่นกัน
Cyber bullying  ที่มีผลกระทบต่อเด็กและเยาวชน  
           งานสำรวจเด็กในกรุงเทพฯ และปริมณฑล พบว่ามีเด็กถึง 48% ที่อยู่ในวงจร Cyber bullying โดยอาจเป็นทั้งผู้กระทำ เหยื่อ และผู้เฝ้าดูหรือส่งต่อข้อมูลไปยังกลุ่มอื่นๆความรุนแรงของการทำร้ายกันผ่านโลกไซเบอร์ ที่พบเห็นในเมืองไทย มีมากมายหลายรูปแบบ อาทิเช่น เด็ก ที่เป็นเหยื่อต้องลาออกจากโรงเรียน อยู่ในภาวะเครียด นอนไม่หลับ และเป็นโรควิตกกังวล แต่ในประเทศญี่ปุ่น วงจรนี้รุนแรงถึงขั้นเด็กฆ่าตัวตายและฆ่าเพื่อนที่คิดว่าเป็นผู้กระทำโดยช่วงเวลาที่เด็กไทยมักอยู่ใน วงจร Cyber bullying คือช่วง 6 โมงเย็นถึง 3 ทุ่ม ซึ่งเป็นช่วงที่เด็กใช้อินเตอร์เน็ตและทำการบ้าน แนวโน้มของการใช้ความรุนแรงลักษณะนี้ จะเกาะกินพฤติกรรมของลูกและจะมีเพิ่มมากขึ้น หากเด็กๆ ไม่ได้รับการดูแลจากพ่อแม่อย่างใกล้ชิด และขาดการแนะนำหรือช่วยกันเลือกใช้แต่ด้านที่มีประโยชน์ จากจอคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต

ที่มา  
retheved   from   
           สืบค้นวันที่  12  มิถุนายน  พ.ศ.2556
          สืบค้นวันที่  12  มิถุนายน  พ.ศ.2556
          สืบค้นวันที่  12  มิถุนายน  พ.ศ.2556