แบบฝึกหัดท้ายบทเรียน
คำถามท้ายหน่วยการเรียน 1
1.จงให้ความหมายของคำว่าเทคโนโลยีและคำว่าสารสนเทศ
เทคโนโลยี หมายถึง
วิธีการหรือกระบวนการในการนำความรู้สาขาต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับงานมาประยุกต์ใช้อย่างเป็นระบบ
เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นการดำเนินงานที่มีระบบและวิธีการที่ก้าวหน้าจึงนำยมใช้คำว่าเทคโนโลยีนำหน้าเสมอ เช่น
เทคโนโลยีการสื่อสาร เทคโนโลยีการเกษตร เทคโนโลยีการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น
สารสนเทศ หมายถึง
ข้อมูลที่ได้รับการตีความ
จำแนกแจกแจง จัดหมวดหมู่ หรือประมวลผลจนมีสาระอยู่ในตัวมันเอง สามารถสื่อความหมายให้เกิดการเข้าใจกับผู้ที่ต้องการใช้ข้อมูลนั้น และสามารถที่จะนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้
โดยข้อมูลที่นำมาประมวลผลนั้นอาจจะมาจากแหล่งต่าง ๆ
ทั้งภายในหรือภายนอกองค์การ
2.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหมายถึงอะไร
หมายถึง ข้อมูลข่าวสารที่สามารถเชื่อมโยงกันแบบเครือข่ายหรือใยแมงมุมได้ทั่วทุกมุมโลกโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสาร เช่น
โทรศัพท์ ดาวเทียม เส้นใยแก้วนำแสง ไมโครเวฟ
ผสมผสานกันเพื่อให้สามารถสื่อสารกันได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น
3.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเกิดขึ้นได้อย่างไร
เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่พึ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลาประมาณ 20 ปีที่ผ่านมาเป็นเทคโนโลยีที่เกิดจากการรวมเทคโนโลยี 2 ประเภทเข้าด้วยกัน คือ
เทคโนโลยีโทรคมนาคม
กับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
ปัจจุบันนี้มีการใช้คำว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศพัฒนาบนพื้นฐานของระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งกำลังเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว อีกด้านหนึ่ง คือ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
การสื่อสารไร้สายกำลังพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน ทำให้เกิดการใช้งานในรูปแบบใหม่ ๆ
มากขึ้น โดยไม่ต้องอาศัยระบบคอมพิวเตอร์
4.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีความเป็นมาหรือพัฒนาการโดยย่ออย่างไร
เทคโนโลยีที่เกิดจากการรวมเทคโนโลยี 2 ประเภทเข้าด้วยกัน คือ
เทคโนโลยีโทรคมนาคม
กับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ซึ่งแต่ละด้านมีประวัติหรือพัฒนาการ ดังนี้
-
เทคโนโลยีโทรคมนาคม
เริ่มจากการประดิษฐ์โทรเลขของ
แซมวล มอร์ส ในปี
พ.ศ. 2380
นับว่าเป็นครั้งแรกที่ข่าวสารถูกแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งไปตามสายระยะทางไกล
ๆ ได้ ในปี พ.ศ. 2419 อเล็กซานเดอร์ แกรแฮม
เบลล์ ได้ประดิษฐ์โทรศัพท์ และได้ตั้งชุมสายโทรศัพท์แห่งแรกที่เมืองนิวเฮเวน จากนั้นเครือข่ายโทรศัพท์ได้ขยายตัวออกไปอย่างรวดเร็ว
จนในปัจจุบันสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ด้วยระบบทางไกลอัตโนมัติ
การสื่อสารไร้สายได้มีการพัฒนาค้นพบคลื่นวิทยุในปี พ.ศ. 2430 และต่อมาปี พ.ศ. 2437 สามารถประดิษฐ์เครื่องรับส่งวิทยุเครื่องแรกได้สำเร็จ ต่อมาได้มีการประดิษฐ์หลอดสุญญากาศ
ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นการขยายการแปรรูปสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ ต่อมา
พ.ศ. 2497
ได้ประดิษฐ์หลอดภาพโทรทัศน์ ซึ่งเป็นที่มาของจอภาพคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน
- เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้เป็นผลมาจากการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือในการคำนวณซึ่งมีวิวัฒนาการนานมาแล้ว เริ่มจากเครื่องมือในการคำนวณเครื่องแรกคือ “ลูกคิด” ต่อมาแบบเบจได้แระดิษฐ์เครื่องวิเคราะห์
หลักการของแบบเบจได้ถูกนำมาพัฒนาสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์สมัยใหม่
เราจึงยกย่องให้แบบเบจเป็นบิดาแห่งเครื่องคอมพิวเตอร์
5.ระบบปัญญาประดิษฐ์
(Artificial Intelligence
: AI) หมายถึงอะไร และมีส่วนประกอบที่สำคัญอย่างไร
ระบบปัญญาประดิษฐ์ หมายถึง
ศาสตร์แขนงหนึ่งของวิชาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์
ที่เกี่ยวข้องกับวิธีการทำให้คอมพิวเตอร์มีความสามารถคล้ายมนุษย์ หรือเลียนแบบพฤติกรรมมนุษย์ โดยเฉพาะความสามารถในการคิดเองได้
และมีส่วนประกอบที่สำคัญ 4 ลักษณะ ได้แก่
1) ระบบหุ่นยนต์
หรือแขนกล
คือหุ่นจำลองร่างกายมนุษย์ที่ควบคุมการทำงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์ 2) ระบบประมวลภาษา
คือการพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถสังเคราะห์เสียงที่มีอยู่ในธรรมชาติ เพื่อสื่อความหมายกับมนุษย์ 3) ระบบการรู้จำเสียงพูด
คือการพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์เข้าใจภาษามนุษย์
6.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีความสำคัญหรือมีประโยชน์อย่างไร
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีความสำคัญหรือมีประโยชน์ เช่น
1. ด้านวิชาการ
เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยในการค้นคว้าศึกษาแหล่งข้อมูล ทำให้การศึกษาง่ายขึ้นและไร้ขีดจำกัด ผู้เรียนมีความสะดวกในการศึกษาค้นคว้าวิจัย
2. การดำรงชีวิตประจำวัน
ช่วยให้มีความสะดวกคล่องตัวและรวดเร็วในการทำกิจกรรมต่าง ๆ
สามารถทำงานได้หลายอย่างในเวลาเดียวกัน
ช่วยให้การทำงานใช้เวลาน้อยลง
3. การดำเนินธุรกิจ
ทำให้มีการแข่งขันทางธุรกิจมากขึ้น
ทำให้ต้องมีการพัฒนาองค์กรเพื่อให้ทันกับข้อมูลข่าวสารอยู่ตลอดเวลา ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง
4. ด้านผลผลิต
ระบบการทำงานที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือจะช่วยให้ทำงานได้มากขึ้นหรือช่วยลดความเสี่ยงในงานบางอย่างโดยใช้คอมพิวเตอร์ทำงานแทนซึ่งได้ผลถูกต้องรวดเร็ว
7.สารสนเทศที่ดีและมีประโยชน์ควรมีลักษณะอย่างไร
สารสนเทศที่ดีและมีประโยชน์ควรมีลักษณะ ดังนี้
ด้านเนื้อหา
-
ความสมบูรณ์ครบถ้วน
- ความสัมพันธ์กับเรื่อง
-
ความถูกต้อง
- ความเชื่อถือได้
-
การตรวจสอบได้
ด้านรูปแบบ
-
ชัดเจน
-
ระดับรายละเอียด
-
รูปแบบการนำเสนอ
-
สื่อการนำเสนอ
-
ความยืดหยุ่น
ด้านประสิทธิภาพ
- ประหยัด
-
เวลา
-
ความรวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์
-
การปรับปรุงให้ทันสมัย
-
มีระยะเวลา
ด้านกระบวนการ
- ความสามารถในการเข้าถึง
-
การมีส่วนร่วม
- การเชื่อมโยง
8.จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
หนังสื่อพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ โทรศัพท์
โทรสาร
การถอนเงินจากเครื่องจ่ายเงินอัตโนมัติ
(ATM)
การสแกนลายนิ้วมือการเข้าปฏิบัติงานในสำนักงาน
การจ่ายค่าโดยสารรถไฟฟ้าผ่านบัตรแถบแม่เหล็ก เป็นต้น
9. จงอธิบายกระแสโลกาภิวัตน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในปัจจุบัน
กระแสโลกาภิวัตน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในปัจจุบันช่วยให้ความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของเราสะดวกสบายมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับยุคก่อน
การเดินทางและการติดต่อสื่อสารระหว่างกันสามารถทำได้ง่ายขึ้น
มีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งานในทุกสาขาอาชีพ
การศึกษาหรือการเรียนการสอนซึ่งส่งผลให้วิทยาการต่าง ๆ
เจริญก้าวหน้าและทันสมัยอย่างรวดเร็ว
การติดตามข่างสารที่เกิดขึ้นในส่วนต่าง ๆ ของโลกได้ทันเกตุการณ์
สามารถรับรู้ข่าวสารข้อมูลในเวลาเดียวกันได้ทั้งที่อยู่ห่างไกลกันคนละสถานที่ เช่น
การถ่ายทอดสด
จึงนับได้ว่าคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญต่อการดำรงชีวิต การศึกษาและการเรียนรู้เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยให้สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาในทุก
ๆ ด้าน
ช่วยส่งเสริมทักษะและสร้างความสนุกสนานเพลิดเพลินไปพร้อม ๆ กัน
10.จงกล่าวถึงบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทั้งในด้านประโยชน์และโทษที่มีต่อผู้ใช้และสังคม
ด้านประโยชน์
1. ช่วยให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจากการสื่อสารที่รวดเร็วและกว้างไกล
2.
การรับรู้และแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารของโลกเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็ว
3. ช่วยให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง
4. กระจายโอกาสด้านการศึกษา ให้ผู้เรียนที่อยู่ห่างไกล
สามารถเรียนผ่านระบบการสอนทางไกลหรือผ่านดาวเทียมได้
5. ช่วยทำให้วิทยาการต่าง ๆ
เจริญก้าวหน้าและทันสมัยอย่างรวดเร็ว
ด้านโทษ
1. ถ้าใช้ในทางที่ผิดอาจถูกหลอกลวงได้ เช่น
การพูดคุยกันผ่านเฟสบุ๊ค
2. อาจถูกหลอกลวงจากพวกมิจฉาชีพ กรณีสั่งสื่อสินค้าทางอินเตอร์เน็ต
3. เข้าถึงสื่อลามกอนาจารได้ง่าย
4. เด็กติดเกมออนไลน์
คำถามท้ายหน่วยการเรียน 2
1.คำว่า
“ ระบบ ” และวิธีการเชิงระบบ หมายถึงอะไร
ระบบ หมายถึง
การทำงานขององค์ประกอบย่อย ๆ
อย่างอิสระแต่มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันจนกลายเป็นโครงสร้างที่สมบูรณ์ของแต่ละงาน สามารถตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไขได้ทุกขั้นตอน
ระบบจึงเป็นหัวใจสำคัญของงานหรือการดำเนินงานทุกประเภท
วิธีการเชิงระบบ หมายถึง
กระบวนการคิดหรือการทำงานอย่างมีแบบแผนชัดเจนในการนำเนื้อหาความรู้ด้านต่าง
ๆ ซึ่งอาจจะเป็นวิธีการหรือผลผลิตมาประยุกต์ใช้อย่างเป็นขั้นตอน
เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้วิธีการเชิงระบบยังเป็นการช่วยป้องกันและแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นด้วย
2.องค์ประกอบสำคัญของวิธีระบบได้แก่อะไร
องค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ
ได้แก่
1.
ปัจจัยนำเข้า
2.
กระบวนการ
3.
ผลลัพธ์
3.ระบบสารสนเทศ
หมายถึงอะไร
ระบบสารสนเทศ หมายถึง
การประมวลผลข้อมูลข่าวสารอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นกระบวนการเพื่อให้ข้อมูลในรูปของข่าวสารที่เป็นประโยชน์สูงสุด
และเป็นข้อสรุปที่สามารถนำไปใช้สนับสนุนการบริหาร และการตัดสินใจ ทั้งในระดับปฏิบัติการ ระดับกลาง
และระดับสูง ระบบสารสนเทศจึงเป็นระบบที่จัดตั้งขึ้นเพื่อปฏิบัติการเกี่ยวกับข้อมูล
4.องค์ประกอบหลักของระบบสารสนเทศ ได้แก่อะไร
1. องค์ประกอบหลัก
มีองค์ประกอบ 2 ส่วน
- ระบบการคิด
-
ระบบเครื่องมือ
2. องค์ประกอบด้านต่าง ๆ
-
องค์ประกอบของระบบสารสนเทศด้านจุดมุ่งหมาย
- องค์ประกอบของระบบสารสนเทศด้านขั้นตอน
-องค์ประกอบของระบบสารสนเทศทั่วไป
5.สารสนเทศด้านจุดมุ่งหมาย ด้านขั้นตอน
และ สารสนเทศทั่วไปแต่ละด้านประกอบด้วยอะไร
สารสนเทศด้านจุดมุ่งหมาย ประกอบด้วย ข้อมูล
สารสนเทศ ความรู้ ปัญญา
ที่ช่วยแก้ปัญหาในการดำเนินงาน
สารสนเทศด้านขั้นตอน ประกอบด้วย ข้อมูลนำเข้า
(Input) กระบวนการ (Process) และผลลัพธ์
(Output)
สารสนเทศทั่วไป ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ
คือ
เครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสื่อสารข้อมูล ข้อมูล
สารสนเทศ โปรแกรมหรือซอฟแวร์ บุคลากรด้านคอมพิวเตอร์
6.โดยทั่วไปการจัดระบบสารสนเทศมีขั้นตอนการจัดอย่างไร
การจัดระบบสารสนเทศมี 4
ขั้นตอน
ขั้นที่ 1
การวิเคราะห์ระบบ
แบ่งออกเป็น 4 หน่วย
1.
วิธีวิเคราะห์แนวทางการปฏิบัติงาน
2.
วิเคราะห์หน้าที่
3.
วิเคราะห์งาน
4.
วิเคราะห์วิธีการและสื่อ
ขั้นที่ 2
การสังเคราะห์ระบบ
1.
การเลือกวิธีการหรือกลวิธี
2.
ดำเนินการแก้ไขปัญหาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
3.
ประเมินผลประสิทธิภาพการดำเนินงาน
ขั้นที่ 3
การสร้างแบบจำลอง
7. ระบบสารสนเทศระดับบุคคล ระดับกลุ่ม
กับระดับองค์กรแตกต่างกันอย่างไร
ระบบสารสนเทศระดับบุคคล ระดับกลุ่ม
กับระดับองค์กรแตกต่างกัน
คือ ระดับบุคคล เป็นระบบที่เสริมประสิทธิภาพและเพิ่มผลงานให้แต่ละบุคคลในหน้าที่รับผิดชอบ ระดับกลุ่ม เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยเสริมการทำงานของกลุ่มบุคคลที่มีเป้าหมายการทำงานร่วมกันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
เตรียมสภาวะแวดล้อมที่จะเอื้ออำนวยประโยชน์ในการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม
โดยทำเป้าหมายของธุรกิจดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิผล ระดับองค์กร
เป็นระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรในภาพรวม
เพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานร่วมกันของหลายแผนก โดยการใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องร่วมกันด้วยวิธีส่งผ่านถึงกันจากแผนกหนึ่งไปอีกแผนกหนึ่ง หัวใจสำคัญของสารสนเทศระดับองค์กร คือ
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในองค์กรที่จะต้องเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ของแต่ละแผนกเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดการใช้ข้อมูล และทรัพยากรร่วมกัน
8.ข้อมูลและความรู้
คืออะไร
มีความสำคัญกับสารสนเทศอย่างไร
ข้อมูล คือ
ข้อเท็จจริงที่ปรากฏให้เห็นเป็นประจักษ์สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า ทั้งที่สามารถนับได้และนับไม่ได้ มีคุณลักษณะเป็นวัตถุสิ่งของ เหตุการณ์หรือสถานการณ์
ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น
ความรู้ เป็นสภาวะทางสติปัญญาของมนุษย์ในการตีความสิ่งเร้าที่อยู่ภายในและภายนอกด้วยความเข้าใจสาระเนื้อหา กระบวนการ
และขั้นตอน อาจอยู่ในรูปของข้อมูลดิบหรือสารสนเทศระดับต่าง
ๆ หรืออาจอยู่ในรูปของอารมณ์ความรู้สึกและเหตุผล
มีความสำคัญกับสารสนเทศ คือ การทำงานใด ๆ
ที่ผลดีจำเป็นต้องมีข้อมูลที่ถูกต้องครอบคลุมและตรงประเด็นประกอบการตัดสินใจการเลือกวัตถุดิบ เนื้อหาสาระ
บุคลากร
และวิธีการปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม
โดยการจำแนกแจกแจง
จัดหมวดหมู่และการประมวลผลข้อมูลที่เกี่ยวข้องทุกด้านอย่างเป็นระบบ ที่เรียกว่า
สารสนเทศ
จึงนับได้ว่าข้อมูลและความรู้มีความสำคัญต่อสารสนเทศ มีประโยชน์ต่อการดำเนินงานของบุคคลและหน่วยงาน
9.การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศมีขั้นตอนอย่างไร
การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ
มีขั้นตอนดังนี้
1. ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล
1.1 การรวบรวมข้อมูล
1.2 การบำรุงรักษาและการประมวลผลข้อมูล
1.3 การจัดการข้อมูล
1.4 การควบคุมข้อมูล
1.5 การสร้างสารสนเทศ
2. วิธีการเก็บข้อมูล
2.1 การสำรวจด้วยแบบสอบถาม
2.2 การสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง
หรือเป็นเจ้าของข้อมูล
2.3 การนับจำนวนหรือวัดขนาดของตนเอง
10.จงกล่าวถึงเครือข่ายสื่อสารข้อมูลที่มีขนาดพื้นที่และจำนวนเครื่องที่ใช้งานแตกต่างกัน
เครือข่ายสื่อสารข้อมูล คือ
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งใช้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกันให้สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันหรือแลกเปลี่ยนกันได้ โดยใช้สายสื่อสารข้อมูลที่ทำจากทองแดงหรือเส้นใยแก้วนำแสง
นิยมแบ่งเครือข่ายตามขนาดพื้นที่และจำนวนเครื่องที่ใช้งาน ได้แก่
1. แลน (LAN) คือ เครือข่ายบริเวณเฉพาะที่ จำกัดเขตเฉพาะภายในบริเวณอาคาร เนื่องจากข้อจำกัดตัวกลางที่ใช้ส่งข้อมูล เช่น
ภายในรั้งโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย
2. แวน (WAN) คือ เครือข่ายบริเวณกว้าง ระยะทางมากกว่า 10
กิโลเมตรขึ้นไปจนมากกว่าหลายพันกิโลเมตร ปกติเชื่อมโยงด้วยระบบสื่อสารสาธารณะ เช่น
สายโทรศัพท์
เครือข่ายเส้นใยแก้วนำแสง
หรือเครือข่ายสัญญาณดาวเทียม
3. อินเตอร์เน็ต
(Internet)
คือ เครือข่ายขนาดใหญ่ ประกอบด้วนเครือข่ายแวนจำนวนมาก ซึ่งครอบคลุมพื้นที่กว้างไกลทั่วโลก
คำถามท้ายหน่วยการเรียน 3
1. คอมพิวเตอร์
หมายถึงอะไร และมีประโยชน์อย่างไร
คอมพิวเตอร์ หมายถึง
เครื่องมือหรืออุปกรณ์ประเภทอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานด้วยคำสั่ง ชุดคำสั่ง
หรือโปรแกรมต่าง ๆ สามารถเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายได้หลายแบบ รวมทั้งเครือข่ายอินเตอร์เน็ตด้วยลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์คือศักยภาพสูงในการคำนวณประมวลผลข้อมูลทั้งที่เป็นตัวเลข รูปภาพ
ตัวอักษร และเสียง ทำให้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับงานได้อย่างกว้างขวาง
ประโยชน์ คือ
1.
มีความเร็วในการทำงานสูง
2.
มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง สามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง
3.
มีความถูกต้องแม่นยำตามโปรแกรมที่สั่งงานและข้อมูลที่ใช้
4.
เก็บข้อมูลได้มาก ไม่ต้องใช้เอกสารและตู้เก็บ
5.
สามารถโอนย้ายข้อมูลจากเครื่องหนึ่งไปอีกเครื่องหนึ่งโดยผ่านระบบเครือข่ายได้อย่างรวดเร็ว ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งาน
2. คอมพิวเตอร์
มีที่มาอย่างไร
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานในปัจจุบัน
เป็นอุปกรณ์ที่ได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่องมาหลายร้อยปี เริ่มจากสร้างอุปกรณ์ที่ไม่มีกลไกซับซ้อน จนกลายเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์มรศักยภาพสูงที่นำมาใช้งานในชีวิตประจำวันในขณะนี้ เพื่อนำมาช่วยทำงานด้านการคำนวณประมวลผล
และสามารถนำมาใช้ในการควบคุมการผลิตงานทางด้านอุตสาหกรรมในโรงานต่าง ๆ
อุปกรณ์ชิ้นแรกซึ่งเป็นที่มาของคอมพิวเตอร์เริ่มจากการคิดค้นของชาวจีนในช่วง พ.ศ. 500 มีการประดิษฐ์ลูกคิดขึ้นมาช่วยในการคิดเลขจึงถือได้ว่าเครื่องคิดเลขเป็นต้นกำเนิดของเครื่องคิดเลขในยุคต่อมา ต่อมาแบลส์ พาสคัล
ได้ประดิษฐ์เครื่องคิดเลขขึ้นมาใช้งาน
เครื่องมือที่เขาการสร้างขึ้นใช้ในการคำนวณ สามารถใช้บวกและลบตัวเลขได้ ต่อมา ชาร์ล
แบบเบจ
ได้สร้างเครื่องคำนวณที่ทำงานโดยอาศัยโปรแกรมเป็นเครื่องแรกของโลก ยกย่องว่าเขาคือบิดาแห่งคอมพิวเตอร์
เนื่องจากเครื่องที่เขาสร้างขึ้นเป็นต้นแบบหรือแนวทางนำไปสู่การพัฒนาของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันในปัจจุบัน
3. ส่วนประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์ได้แก่อะไรบ้าง
1. หน่วยรับข้อมูลเข้า
2. หน่วยประมวลผลกลาง
3. หน่วยความจำ
4.หน่วยแสดงผล
5. อุปกรณ์ต่อพวงอื่น ๆ
4. ระบบคอมพิวเตอร์
หมายถึงอะไร
ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ได้แก่อะไร
ระบบคอมพิวเตอร์ หมายถึง
กรรมวิธีที่คอมพิวเตอร์ทำการใด ๆ
กับข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ตามความประสงค์ของผู้ใช้มากที่สุด เช่น
การตรวจสอบข้อมูลประชาชนจากระบบทะเบียนราษฎร์ ของสำนักทะเบียนราษฎร์ กรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย ระบบเวชระเบียนของโรงพยาบาล ระบบเสียภาษี ระบบทะเบียนการค้า
ระบบทะเบียนประวัติอาชญากรรมของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ถ้าต้องการทราบข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้
สามารถตรวจสอบได้โดยการประมวลผลของระบบคอมพิวเตอร์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้
ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ ได้แก่
1. ฮาร์ดแวร์ หรือส่วนเครื่อง
2. ซอฟแวร์ หรือส่วนชุดคำสั่ง
3. ข้อมูล
4. บุคลากร
5. ฮาร์ดแวร์
หมายถึงอะไร
ส่วนประกอบที่สำคัญของฮาร์ดแวร์ได้แก่อะไร
ฮาร์ดแวร์ หมายถึง
ตัวเครื่องและอุปกรณ์ส่วนต่าง ๆ
ที่เราสามารถสัมผัสและจับต้องได้ ฮาร์ดแวร์จะประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 4 ส่วน
คือ
1.
ส่วนประมวลผล
2.
ส่วนความจำ
3.
อุปกรณ์รับเข้าและส่งออก
4.
อุปกรณ์หน่วยเก็บข้อมูล
6. ส่วนประกอบใดของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่มีหน้าที่หลักในการควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ เปรียบเหมือนส่วนสมองของระบบคอมพิวเตอร์
ตัวชิป ที่ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์หรือกล่องเครื่องที่มีซีพียูบรรจุอยู่
ความหมายส่วนที่ 2
ถ้ามองทางด้านเทคนิคแล้วจะมีความหมายที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากตัวซีพียูเป็นชิปคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เหมือนส่วนสมองของระบบคอมพิวเตอร์
7. หน่วยคอมพิวเตอร์แบบแรม (RAM) และแบบรอม
(ROM)
ของหน่วยความจำหลักแตกต่างกันอย่างไร
หน่วยคอมพิวเตอร์แบบแรม
และแบบรอม แตกต่างกัน คือ
แรมเป็นหน่วยความจำที่ต้องอาศัยกระแสไฟฟ้าเพื่อรักษาข้อมูล
ข้อมูลหรือแฟ้มข้อมูลจะถูกเก็บไว้ชั่งคราวขณะทำงาน ข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำจะอยู่ได้นานจนกว่าจะปิดเครื่องคอมพิวเตอร์หรือไม่มีกระแสไฟฟ้าป้อนส่งให้กับเครื่อง
เมื่อปิดเครื่องหรือไฟฟ้าดับข้อมูลที่ถูกเก็บไว้จะถูกลบหายไป เรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่า หน่วยความจำแบบลบเลือนได้ แต่แบบรอม
เป็นหน่วยความจำที่ใช้ในการเก็บโปรแกรมหรือข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์
ข้อมูลที่ถาวรไม่ขึ้นกับไฟฟ้าที่ป้อนให้กับวงจร
ยอมให้ซีพียูอ่านข้อมูลหรือโปรแกรมไปใช้งานอย่างเดียว
มาสามารถเขียนข้อมูลลงไปเก็บไว้ได้โดยง่าย ต้องใช้เทคนิคพิเศษช่วย ส่วนใหญ่ในการเก็บโปรแกรมควบคุม เรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่า หน่วยความจำแบบไม่ลบเลือน
8. จานบันทึกข้อมูล
(Hard Disk) ประกอบด้วยอะไร ทำหน้าที่อย่างไร
จานบันทึกข้อมูล ประกอบด้วย ตัวจานบันทึกข้อมูลแบบแข็ง ประกอบด้วย
แผ่นจานแม่เหล็กตั้งแต่หนึ่งแผ่นจนถึงหลายแผ่น และเครื่องขับจาน เป็นส่วนอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ มีมอเตอร์ทำหน้าที่หมุนแผ่นจานแม่เหล็กด้วยความเร็วสูง มีหัวแม่เหล็กทำหน้าที่อ่านและเขียนข้อมูลต่าง
ๆ ลงบนผิวของแผ่นดังกล่าวตามคำสั่งของโปรแกรมหรือผู้ปฏิบัติงานต้องการโดยหัวอ่านและเขียนไม่ได้สัมผัสแผ่นโดยตรงแต่เคลื่อนที่ผ่านแผ่นไปเท่านั้น
ส่วนการบันทึกข้อมูลได้จำนวนมากเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับเครื่องและรุ่นที่ใช้ปัจจุบัน
9. บอกความหมายของคำต่อไปนี้เมกะไบต์ (Megabyte) กิกะไบต์ (Gigabit) พิกเซล
(Pixel) จิกะเฮิร์ซ (GHz)
เมกะไบต์ คือ
หน่วยวัดปริมาณสารสนเทศ
หรือบรรจุของหน่วยเก็บในคอมพิวเตอร์
มีค่าเท่ากับ 1 ล้านไบต์
กิกะไบต์ คือ
หน่วยวัดขนาดของข้อมูลในคอมพิวเตอร์
เช่น
ใช้เป็นหน่วยบรรจุของหน่วยความจำหรือฮาร์ดดิสก์
พิกเซล คือ
หน่วยพื้นฐานของภาพหรือจุดภาพบนจอแสดงผล
หรือจุดภาพในรูปภาพที่รวมกันเป็นภาพขึ้น
เป็นหน่วยวัดความละเอียด
จิกะเฮิร์ซ คือ
หน่วยวัดความเร็วของเครื่องคอมพิวเตอร์
จากความเร็วของซีพียู
ซึ่งหน่วยวัดความเร็วของซีพียูจะวัดเป็น
เฮิร์ต
10. จอภาพ
แป้นพิมพ์ และเมาส์ ทำหน้าที่อย่างไรในเครื่องคอมพิวเตอร์
จอภาพ ทำหน้าที่ แสดงข้อมูลผลลัพธ์ที่เกิดจากการประมวลผลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถแสดงผลได้ทั้งตัวหนังสือ ภาพนิ่ง
และภาพเคลื่อนไหว
แป้นพิมพ์ ทำหน้าที่ รับข้อมูลเข้าจากการกดแป้นพิมพ์เพื่อส่งต่อไปให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์
เมาส์ ทำหน้าที่
การควบคุมตัวชี้
ที่ปรากฏบนจอภาพให้สามารถเลื่อนไปสู่ตำแหน่งต่าง ๆ
ที่ต้องการได้โดยง่ายสามารถใช้ร่วมกับโปรแกรมในการควบคุมคำสั่ง
คำถามท้ายหน่วยการเรียน 4
1. ซอฟแวร์
คืออะไร และทำหน้าที่อย่างไร
ซอฟแวร์ คือ
ชุดคำสั่งที่สั่งงานคอมพิวเตอร์อย่างเป็นลำดับขั้น
ชุดคำสั่งเหล่านี้ได้จัดเตรียมไว้ในหน่วยความจำ
คอมพิวเตอร์จะอ่านชุดคำสั่งแล้วทำงานตามโปรแกรมที่นักเขียนโปรแกรมได้เขียนไว้ ทำหน้าที่อ่านชุดคำสั่งแล้วทำงานตามโปรแกรมที่นักเขียนโปรแกรมได้เขียนไว้ สามารถทำให้คอมพิวเตอร์อ่านข้อมูล แปลความหมาย
และทำการประมวลผล
แล้วส่งผลลัพธ์ที่ได้ออกมาเป็นสารสนเทศตามที่เราต้องการ
2. ซอฟแวร์มีกี่ประเภทอะไรบ้าง
ซอฟแวร์แบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ
1.
ซอฟแวร์ระบบ
-
ระบบปฏิบัติการ
-
ตัวแปลภาษา
2.
ซอฟแวร์ประยุกต์
-
ซอฟแวร์สำเร็จ
-
ซอฟแวร์ใช้งานเฉพาะ
3. ซอฟแวร์ระบบคืออะไร
ซอฟแวร์ระบบ คือ
โปรแกรมที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ หน้าที่การทำงานของซอฟแวร์ระบบ คือ
ดำเนินพื้นฐานต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์
4. ซอฟแวร์ประยุกต์คืออะไร
ซอฟแวร์ประยุกต์ คือ
โปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อการใช้งานเฉพาะเรื่องตามที่เราจัดการ เช่น
งานพิมพ์เอกสาร งานพิมพ์รายงาน วาดภาพ
เล่นเกม
หรือโปรแกรมระบบบัญชี รายรับรายจ่าย และเงินเดือน โปรแกรมอินเตอร์เน็ตเอ็กซ์พลอเรอร์ ใช้เพิ่อการสืบค้นข้อมูลและเชื่อมโยงกับระบบอินเตอร์เน็ตก็ได้ เน้นการใช้งานสะดวก
5. ซอฟแวร์เฉพาะงานคืออะไร
เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ช่วยในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ในหน้าที่เฉพาะด้านบางอย่าง เช่น การตรวจหาและกำจัดไวรัสคอมพิวเตอร์ การจัดเรียงข้อมูลในฮาร์ดิสก์ เป็นต้น
6.ซอฟแวร์มีความสำคัญและจำเป็นต่องานคอมพิวเตอร์อย่างไร
โปรแกรมที่ใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์จึงเป็นซอฟต์แวร์สำคัญที่ทำให้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องทำงานแตกต่างๆกันได้มากมาย การที่คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้มากมาย
เพราะว่ามีการพัฒนาโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์เพื่อสั่งงานคอมพิวเตอร์ตามความถูกต้องของผู้ใช้งาน
7. ซอฟแวร์และภาษาคอมพิวเตอร์เกี่ยวข้องกันอย่างไร
เราใช้คอมพิวเตอร์ทำงานในการจัดการสารสนเทศเรื่องต่างๆ ได้อย่างถูกต้องแม่นยำโดยการกำหนดวิธีการหรือขั้นตอนให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ตามความต้องการ
จำเป็นต้องมีสื่อกลางที่ใช้ในการติดต่อซึ่งกันและกันระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ เราเรียกภาษาสื่อกลางนี้ว่าภาษาคอมพิวเตอร์
8. ระบบปฏิบัติการคืออะไร ทำหน้าที่อะไร
เป็นซอฟต์แวร์ที่ควบคุมกิจกรรมทั้งหมดของคอมพิวเตอร์
เพื่อให้มั่นใจว่าอุปกรณ์ที่เป็นฮาร์ดแวร์ทุกส่วนของระบบคอมพิวเตอร์ทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ
หน้าที่ของระบบปฏิบัติการ
คือ
อำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในลักษณะผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องทราบกลไกการทำงานหรือฮาร์ดแวร์ของระบบ
หน้าที่ของระบบปฏิบัติการมี ดังนี้
- ติดต่อกับผู้ใช้
- ควบคุมการทำงานของโปรแกรม และอุปกรณ์รับ/แสดงผลข้อมูล
- จัดสรรให้ใช้ทรัพยากรระบบร่วมกัน
คำถามท้ายหน่วยการเรียน 5
1. ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หมายความว่าอย่างไร
คอมพิวเตอร์ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องใช้ประจำสำนักเริ่มจากการใช้ในงานพิมพ์เอกสาร เก็บข้อมูล
เป็นเครื่องที่ทำงานคนเดียว
เมื่อสำนักงานมีขนาดใหญ่ขึ้นเริ่มการใช้คอมพิวเตอร์หลายรูปแบบ ลักษณะงานต้องใช้ข้อมูลร่วมกัน
ถ้าเจ้าหน้าที่แต่ละคนเก็บข้อมูลไว้ในเครื่องตนเอง ความซ้ำซ้อนของข้อมูลย่อมเกิดขึ้น ทำให้เสียเวลามาก บางครั้งข้อมูลไม่ตรงกัน
จึงทำให้มีการหาวิธีเพื่อทำการเชื่อมโยงต่อระบบเครื่องคอมพิวเตอร์
เพื่อลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลและสะดวกในการใช้งาน
2. ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีประโยชน์อย่างไร
ทำให้เกิดการสื่อสารข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ที่รวดเร็วขึ้น
ทำให้คอมพิวเตอร์หลายเครื่องที่ต่อเชื่อมเครือข่ายกันนั้นสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างประสิทธิภาพ
3. ระบบเครือข่ายในบริเวณเฉพาะที่หมายความว่าอย่างไร
การเชื่อมต่อเครือข่ายให้ประโยชน์ในด้านการใช้ข้อมูลร่วมกัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ข้อมูลในฐานข้อมูลเดียวกันทำให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบันมากที่สุด และยังให้ประโยชน์ในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน เช่น อุปกรณ์ประเภทเครื่องพิมพ์
4. ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตหมายความว่าอย่างไร
เป็นระบบใหญ่ที่มีการเชื่อมต่อกันทั่วโลกผลประโยชน์และผลกระทบจึงมีกว้างไกลมาก
สิ่งที่เรารู้จักและนำมาใช้ประโยชน์ทุกวันนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น ยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องซึ่งจะนำมาซึ่งสิ่งใหม่ๆ อีกมากมาย
5. ระบบเครือข่ายร่วมปฏิบัติการหมายความว่าอย่างไร
เป็นระบบเครือข่ายที่ทำให้เกิดการรวมพลังของคอมพิวเตอร์เครือข่ายมาทำงานร่วมกัน
6. ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีกี่ประเภทอะไรบ้าง
6. ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีกี่ประเภทอะไรบ้าง
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มี
3 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
1. เครือข่ายแลนหรือเครือข่ายบริเวณเฉพาะที่
2. เครือข่ายแมนหรือเครือข่ายบริเวณนครหลวง
3. เครือข่ายแวนหรือเครือข่ายบริเวณกว้าง
7. รูปแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีกี่รูปแบบอะไรบ้าง
มี 2 รูปแบบ
ดังนี้
1. ฮาร์แวร์หรือส่วนเครือข่ายเชิงกายภาพ
2. ซอฟต์แวร์หรือส่วนการจัดการเชิงตรรกะ
คำถามท้ายหน่วยการเรียน 6
1. อินเตอร์เน็ต
(Internet)
หมายความว่าอย่างไร
อินเตอร์เน็ต หมายถึง
เครือข่ายนานาชาติหรือเครือข่ายสากล
คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน
2.
จงอธิบายความสำคัญของอินเตอร์เน็ตทางด้านการศึกษาว่ามีอะไรบ้าง
ด้านการศึกษา อินเตอร์เน็ตมีความสำคัญ ดังนี้
1. สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล
2. ทำหน้าที่เปรียบเสมือนห้องสมุดขนาดใหญ่
3. นักศึกษาสามารถใช้อินเตอร์เน็ตติดต่อกับมหาลัยหรือโรงเรียนอื่นๆเพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้
3. จงบอกประโยชน์ของอินเตอร์เน็ตที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
1. ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร
สะดวกและรวดเร็ว
2. ใช้สืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆทั่วโลกได้
3. ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลกับเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างระบบได้
4. สามารถส่งข้อมูลได้หลายรูปแบบ
5. ให้ความบันเทิง
เช่น ฟังเพลง เล่นเกม
6. ใช้สื่อสารด้วยข้อความ
ซึ่งเป็นการพูดคุยกันระหว่างผู้ใช้อินเตอร์เน็ตโดยการพิมพ์ข้อความโต้ตอบ
7. ใช้ส่งจดหมายอิกเล็กทรอนิกส์
8. ซื้อขายสินค้าและบริการ
4. การติดต่อโดยใช้สายโทรศัพท์ผ่านอุปกรณ์ Modem หมายความว่าอย่างไร
Modem หมายถึง การเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับคู่สายโทรศัพท์
โดยการแปลงสัญญาณดิจิตอลของคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณอนาล็อก
แล้วส่งไปตามสายโทรศัพท์ และเปลี่ยนจากสัญญาณอนาล็อก
ที่ได้จากสายโทรศัพท์ให้กลับไปเป็นสัญญาณดิจิตอล เพื่อส่งต่อไปยัง
เครื่องคอมพิวเตอร์ อีกครั้ง
5. ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต WWW
มีประโยชน์อย่างไร
เป็นบริการระบบข่าวสารที่มีข้อมูลอยู่ทุกแห่งในโลกข้อมูลเหล่านี้เชื่อมโยงกันเป็นระบบสามารถสืบค้นได้ง่าย
6. จงยกตัวอย่างประโยชน์ของ E-mail
ประโยชน์ของ Email
1. ใช้ในการติดต่อสื่อสาร
2. ง่ายต่อการบริหารจัดการขององค์การ
3. สะดวกในการนำข้อมูลมาใช้
4. ประชาสัมพันธ์องค์การให้หน่วยงานอื่นได้ทราบ
5. ประหยัดค่าใช้จ่ายขององค์การ
คำถามท้ายหน่วยการเรียน 7
1. จงอธิบายเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบต่าง ๆ
ว่ามีกี่ประเภท
เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบต่าง
ๆ แบ่งออกเป็น 4
ประเภท
1.อินทราเน็ต
2.เอ็กซ์ตราเน็ต
3.อินเตอร์เน็ต
4.รูปแบบของข้อมูลในเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ประเภทต่างๆ
2. อินทราเน็ต
(Intranet)
หมายความว่าอย่างไร
เป็นเครือข่ายสำหรับองค์กรหนึ่ง ๆ ข้อมูลส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร
หรือข้อมูลเพื่อการใช้ประโยชน์องค์กร คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายอาจอยู่ภายในตึกเดียวกัน
หรือกระจายอยู่ทั่วประเทศหรือทั่วโลกก็ได้ขึ้นกับว่าองค์กรนั้นมีขนาดเล็กหรือใหญ่
3. จงยกตังอย่างแหล่งข้อมูลการสืบค้นบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
1. http://www.google.co.th/
2. http://www.yahoo.com/
3. http://www.excite.com/
4. จงอธิบายวิธีการสืบค้นข้อมูลจากเว็บไซด์ Google พอสังเขป
พิมพ์คำที่เกี่ยวข้องหรือสิ่งที่ต้องการหาเพียง 2-3
คำลงไป แล้วกดแป้น Enter
หรือคลิกที่ปุ่ม Goบนหน้าจอ Google
ก็จะแสดงเว็บเพจที่ค้นหา
5. Digital
library หมายความว่าอย่างไร
Digital Library (ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์) หมายถึง การจัดสารสนเทศในรูปแบบของสื่ออิเล็กทรอนิกส์แทนที่จะจัดเก็บในรูปของสื่อพิมพ์
6. จงยกตัวอย่างแหล่งข้อมูลเว็บไซด์ประเภทของการศึกษา
1.
http://www.school.net.th/
2.
http://www.learn.in.th/e-learning/
3. http://www.ksp.or.th/ksp2013/
คำถามท้ายหน่วยการเรียน 8
1. ให้ผู้เรียนตอบคำถามต่อไปนี้ โดยเขียนตามความเข้าใจของผู้เรียน
1.1 การนำเสนอผลงานมีจุดประสงค์อย่างไร
- ให้ผู้ชมเข้าใจสาระของการนำเสนอ
- ให้ผู้ชมเกิดความประทับใจ ซึ่งจะนำไปสู่การเชื่อถือในผลงานที่นำเสนอ
1.2 หลักการพื้นฐานสำคัญของการนำเสนอผลงานมีอะไรบ้าง
- การดึงดูดความสนใจ
- ความชัดเจนและความกระชับของเนื้อหา
- ความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
1.3
การบรรยายสดกับการพากย์มีข้อพิจารณาในการเลือกใช้ต่างกันอย่างไร
การบรรยายสดกับการพากย์ แตกต่างกัน คือ การบรรยายสด เหมาะสำหรับประชุมหรือสัมมนาที่ต้องการให้ผู้ชมมีส่วนร่วมเพราะผู้บรรยายในกรณีนี้เป็นผู้ที่รู้เรื่องราวเกี่ยวกับเนื้อหาเป็นอย่างดี
รู้ว่าควรเน้นตรงจุดใดและปฏิกิริยาจากผู้ชมสามารถติดตามทำความเข้าใจได้เพียงพอ
หรือไม่รู้ว่าส่วนไหนจะต้องอธิบายขยายความมากน้อยเพียงใด การพากย์ เหมาะสำหรับเนื้อหาที่สามารถถ่ายทอดได้โดยไม่ต้องอาศัยในการมีส่วนร่วมของผู้ชม ข้อดี
คือ
สามารถเลือกใช้เสียงพากย์ที่มีความไพเราะน่าฟัง สามารถใช้ดนตรีหรือเสียงประกอบเพื่อสร้างบรรยากาศ แต่ข้อเสีย
คือ
ไม่มีความยืดหยุ่นไมสามารถปรับให้เหมาะสมกับความรู้สึกของผู้ชมในขณะนั้น
1.4 เครื่องมือที่ใช้ในการนำเสนอผลงานที่ใช้ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง
-
เครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องฉายภาพคอมพิวเตอร์
1.5 รูปแบบที่ใช้ในการนำเสนอผลงานที่ใช้ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง
-
การนำเสนอโดยใช้โปรแกรม Power Point
-
การนำเสนอโดยใช้โปรแกรม ProShow Gold